“ตรวจพันธุกรรม” ถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับดีเอ็นเอที่สุด
ในปัจจุบัน การตรวจพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า การตรวจยีน (Genetic Testing) หรือ ตรวจจีโนม เริ่มได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสามารถช่วยประเมินความเสี่ยงของโรคร้าย และโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ ได้ ช่วยให้เราสามารถวางแผนดูแลสุขภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสม
สำหรับใครที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจพันธุกรรมมาก่อน ในบทความนี้ BGI จะพาคุณไปทำความรู้จักกับการตรวจพันธุกรรมโดยละเอียด ใครที่สงสัยว่าการตรวจพันธุกรรม คืออะไร ทำไมถึงสามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ หรืออยากรู้ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร ต้องไม่พลาดบทความนี้เลย!
ทำความรู้จักกับพันธุกรรม (Genetic)
สารพันธุกรรม หรือ DNA มีชื่อเต็มๆ ว่า deoxyribonucleic acid ซึ่งเป็นโมเลกุลที่มีความซับซ้อนอยู่ภายในเซลล์ทั่วร่างกายทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรม
DNA มีลักษณะบิดตัวเป็นเกลียวคู่คล้ายบันไดเวียนจากการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ ที่ภายในประกอบไปด้วย ฟอสเฟต, น้ำตาล และไนโตรเจนเบส (Nitrogenous Base) ซึ่งมี 4 ชนิด ได้แก่
- อะดีนีน (Adenine : A)
- ไซโทซีน (Cytosine : C)
- กัวนีน (Guanine : G)
- ไทมีน (Thymine : T)
ดยอะดีนีนจะเชื่อมต่อกับไทมีน ส่วนไซโทซีนจะเชื่อมต่อกับกัวนีน ทำให้เกิดเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสใน DNA นั่นเอง
ซึ่งสาย DNA นั้นมีความยาวมาก ๆ จนต้องขดตัวอยู่ในลักษณะที่คล้ายปาท่องโก๋ เรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) เพื่อให้สามารถบรรจุอยูในนิวเคลียสของเซลล์ได้นั่นเอง
การตรวจพันธุกรรมคืออะไร?
การตรวจพันธุกรรม (Genetic Testing) หรือที่คนเรียกว่า ตรวจจีโนม คือ การนำตัวอย่างที่สามารถถอดรหัสทางพันธุกรรมได้ อย่างเช่น เลือดหรือน้ำลายมาสกัดดีเอ็นเอเพื่อทำการวิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ที่มีการศึกษา วิจัย และรวบรวมมาแล้วก่อนหน้านี้ หาสาเหตุของความผิดปกติหรือการถ่ายทอดโรคที่มาจากปัจจัยทางพันธุกรรม รวมไปถึงบ่งบอกคุณลักษณะเฉพาะบุคคล อย่างความต้องการสารอาหาร ศักยภายในการออกกำลังกายได้อีกด้วย
การเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมเพื่อส่งตรวจพันธุกรรมนั้น สามารถทำได้หลายแบบ เช่น
- การเก็บตัวอย่างเลือด น้ำลาย หรือเนื้อเยื่อจากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม
- การเก็บตัวอย่างจากเซลล์ชิ้นเนื้อ
- การเก็บตัวอย่างเลือดจากปลายนิ้วในเด็กทารกแรกเกิด
- การเจาะเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำ ในหญิงตั้งครรภ์
- การตัดเชื้อเนื้อรกโดยใช้เข็มเจาะบริเวณหน้าท้องของมารดา เพื่อตรวจดีเอ็นเอและหาความผิดปกติของโครโมโซมเด็กทารก
ตรวจพันธุกรรมค้นหาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายและโรคพันธุกรรมได้อย่างไร?
มนุษย์มีรหัสพันธุกรรมทั้งหมดหรือจีโนม (Genome) อยู่ที่ 3,000 ล้านคู่เบส โดยจะมีส่วนที่คล้ายคลึงกันอยู่ 99.9% และมีส่วนที่แตกต่างกันแค่ประมาณ 0.1% เท่านั้น แต่ 0.1% ที่ว่านี้กลับเต็มไปด้วยความซับซ้อนและบ่งบอกถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลได้อย่างชัดเจน
การตรวจสารพันธุกรรม ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพร่างกายเฉพาะบุคคลได้ ทำให้สามารถค้นพบการกลายพันธุ์ที่อาจก่อให้เกิดโรค และหาสาเหตุของโรคต่างๆ ได้รวดเร็วและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
4 ประโยชน์ของการตรวจพันธุกรรมต่อการดูแลสุขภาพร่างกาย
เพื่อให้คุณมองเห็นประโยชน์ของการตรวจพันธุกรรม หรือ ตรวจจีโนมได้อย่างชัดเจน และตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรเข้ารับการตรวจดีไหม BGI ได้รวม 4 ประโยชน์ของการตรวจพันธุกรรมต่อการดูแลสุขภาพร่างกายมาให้แล้ว จะมีประโยชน์อะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย!
- ช่วยพยากรณ์ความเสี่ยงโรคมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม การตรวจพันธุกรรม หรือ DNA สามารถวิเคราะห์หายีนกลายพันธุ์ (mutated gene) ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยของการเกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งหากมีปัจจัยภายนอกอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็อาจกระตุ้นให้มีโอกาสเกิดมะเร็งได้สูงกว่าคนที่ไม่มียีนกลายพันธุ์ ดังนั้นการทราบถึงยีนกลายพันธุ์ดังกล่าวจะช่วยให้เราสามารถวางแผนป้องกันได้ดียิ่งขึ้นไม่เพียงแค่ผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง หรือมีสมาชิกครอบครัวที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งอันเนื่องมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเท่านั้น แต่บุคคลทั่วไปที่ต้องการหาสาเหตุของมะเร็งก็สามารถเข้ารับบริการนี้ได้เช่นกัน
- ช่วยคัดกรองโรคทางพันธุกรรมที่ส่งต่อจากพ่อแม่ไปสู่ลูก โรคทางพันธุกรรม คือโรคที่เกิดจากการถ่ายทอดความผิดปกติของพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูก ซึ่งอาจส่งต่อไปยังรุ่นหลานได้ โดยในบางครั้งพ่อและแม่อาจจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ เพราะเป็นเพียงพาหะของโรคเท่านั้น การตรวจพันธุกรรมก่อนตั้งครรภ์ เพื่อคัดกรองความเสี่ยงส่งต่อโรคทางพันธุกรรมไปสู่ลูกน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย ๆ เช่น โรคธาสัสซีเมีย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาวะผิดปกติของโครโมโซมเอ็กซ์ และซิสติก ไฟโบรซิส เป็นต้น
- ช่วยให้วางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นประโยชน์ของการตรวจพันธุกรรมเลยก็คือ การตรวจหาความไวต่อสารอาหารแต่ละชนิด รวมไปถึงความต้องการสารอาหารที่แท้จริงของร่างกาย อย่างวิตามินและแร่ธาตุ ยกตัวอย่างเช่น ความไวต่อแล็กโทสในนมวัว ความไวต่อคาเฟอีน หรือความสามารถในการดูดซึมแอลกอฮอล์ เป็นต้นฃ
- ช่วยให้วางแผนออกกำลังกายและลดน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่ลองลดน้ำหนักด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วล้มเหลว นั่นอาจเป็นเพราะว่าเลือกวิธีลดน้ำหนักที่ไม่เหมาะสมกับตนเองก็ได้ แต่การตรวจพันธุกรรมจะทำให้รู้ว่าร่างกายของคุณเหมาะสมกับการออกกำลังกายประเภทใดได้ เช่น การออกกำลังกายที่เน้นใช้แรงมากๆ (Power Sports) การออกกำลังกายที่เน้นฝึกความคงทนเป็นหลัก (Endurance Sports) หรือแนวโน้มการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายในแต่ละบุคคล เป็นต้น
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตรวจพันธุกรรม
แม้ว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจพันธุกรรมจะมีความแม่นยำสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเป็นโรคนั้นจริง ๆ เพราะการตรวจพันธุกรรมเป็นเพียงการคัดกรองเบื้องต้น และทำนายแนวโน้มความน่าจะเป็น เพื่อช่วยให้เรานำข้อมูลที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน วางแผนการป้องกัน และดูแลสุขภาพร่างกายได้เหมาะสมมากขึ้น
ตรวจพันธุกรรมที่ไหนดี?
หากคุณสนใจตรวจพันธุกรรม ตรวจดีเอ็นเอ หรือตรวจจีโนมเพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคร้ายและโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของตนเอง แต่ยังไม่รู้ว่าจะใช้บริการตรวจที่ไหนดี ให้ BGI เป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับคุณ เราพร้อมให้บริการตรวจพันธุกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การตรวจคัดกรองมะเร็งที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม (SENTIS) การตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมโดยเทคโนโลยี Whole Exome Sequencing (ฺBGI Xome) การตรวจคัดกรองพันธุกรรมสำหรับเด็กแรกเกิด (NOVA) การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในระยะเริ่มต้น (COLOTECT) หรือการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคล (DNALL) ด้วยเทคโนโลยี Next Generation Sequencing ที่มีความแม่นยำสูง หากสนใจสามารถติดต่อเราได้ตามช่องทาง LINE Official Account @dnall หรือโทร 094-616-6878 ได้เลย จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปภายใน 24 ชั่วโมง มั่นใจได้เลยว่าจะไม่ทำให้คุณผิดหวังอย่างแน่นอน!