แชร์

รู้จักกับการ “ตรวจ NIPT” วิธีคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์

18436 ผู้เข้าชม
รู้จักกับการ “ตรวจ NIPT” วิธีคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์

รู้หรือไม่ว่า ความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเป็นดาวน์ซินโดรมสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุยังน้อย หรืออายุมากแล้ว การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ทุกคนไม่ควรละเลย

โดยในบทความนี้ BGI จะพาไปทำความรู้จักกับการตรวจ NIPT Test วิธีตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ที่ มีความแม่นยำสูงในการตรวจดาวน์ซินโดรมถึง 99% สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป ที่สำคัญยังมีความปลอดภัยสูง ไม่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการแท้งบุตร จะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลย!

การตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) คือ การตรวจหาความเสี่ยงทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ โดยจะตรวจจากดีเอ็นเอของทารกที่ปะปนมากับเลือดของมารดา จัดเป็นวิธีการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง เพราะเก็บเลือดมารดาเพียงแค่ 10 มิลลิลิตรเท่านั้น ไม่ทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์

การตรวจ NIPT จะใช้เทคโนโลยีอ่านลำดับดีเอ็นเอที่มีชื่อเรียกว่า NGS (Next Generation Sequencing) ในการวิเคราะห์ปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอของทารกที่ปะปนอยู่ในกระแสเลือดของคุณแม่ 

NGS มีความสามารถในการอ่านลำดับดีเอ็นเอ โดยจะมีความไวสูง (High sensitivity) และอ่านลำดับดีเอ็นเอได้ในปริมาณมาก (High throughput) สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติที่เกิดจากโครโมโซมได้อย่างแม่นยำ โดยมีความแม่นยำในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมสูงถึง 99%

ตรวจ NIPT บอกอะไรได้บ้าง?

การตรวจ NIPT สามารถหาความเสี่ยงการเกิดโรค หรือกลุ่มอาการผิดปกติทางพันธุกรรมต่างๆ ได้ เช่น

  • กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน
  • กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edwards Syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกิน 
  • กลุ่มอาการพาทัวร์ (Pataus Syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 13 เกิน
  • กลุ่มอาการที่เกิดจากโครโมโซมเพศขาดหรือเกิน เช่น กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome) กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) กลุ่มอาการจาค็อบส์ซินโดรม (Jacobs Syndrome) หรือภาวะเกินมาของโครโมโซม X (Tripe-X) เป็นต้น
  • กลุ่มอาการที่เกิดจากการขาดหายไป หรือเพิ่มขึ้นมาบางส่วนของโครโมโซม (Deletion/duplication Syndrome) เช่น กลุ่มอาการคริดูชาต์ (Cri-du-chat Syndrome) หรือ กลุ่มอาการ 1p36 ดีลีทชั่น (1p36 deletion syndrome) เป็นต้น
  • รายงานเพศของทารกในครรภ์ โดยสามารถรู้เพศของทารกได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ ซึ่งเร็วกว่าการตรวจอัลตราซาวด์

NIPT Test เหมาะกับใคร?

คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนควรเข้ารับการตรวจ NIPT เพราะถึงแม้กลุ่มอาการดาวน์จะมีโอกาสเกิดในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 35 ปีขึ้นไปมากกว่า แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุยังน้อยก็ไม่ควรประมาท เพราะถือว่ายังมีโอกาสเสี่ยงอยู่ และโรคดาวน์ซินโดรมเป็นโรคที่ไม่วิธีรักษาให้หายขาด การเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่น ๆ ในช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด

ตรวจ NIPT อายุครรภ์กี่สัปดาห์?
คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการตรวจ NIPT ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป และควรตรวจในช่วงที่อายุครรภ์ 12-16 สัปดาห์

ขั้นตอนการตรวจ NIPT
การตรวจ NIPT มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเลย ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ไม่ต้องอดน้ำและอาหาร แค่เพียงไปพบคุณหมอตามนัดหมาย เจาะเลือดประมาณ 8-10 มิลลิลิตร นำส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ผล แล้วรอดูผลตรวจได้เลย

ตรวจ NIPT กี่วันรู้ผล?
โดยปกติแล้ว รายงานผลตรวจ NIPT จะออกภายใน 7-10 วันทำการ

ทำอย่างไรเมื่อผลตรวจ NIPT พบความผิดปกติ?
หากผลตรวจ NIPT พบความผิดปกติ แพทย์จะให้ตรวจวินิจฉัยคัดกรองดาวน์ซินโดรม เช่น การเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรม เป็นการตรวจจากดีเอ็นเอของทารกโดยตรงเลย โดยทางผู้บริการตรวจ NIFTY จะมีวงเงินสนับสนุนการเจาะน้ำคร่ำให้สูงสุด 25,000 บาท และมีการรับประกันในกรณีที่ผลลบลวงสูงสุดถึง 2 ล้านบาท

ตรวจ NIPT ราคาเท่าไหร่?
ราคาค่าบริการตรวจ NIPT จะแตกต่างกันไปในแต่ละสถานพยาบาล ขึ้นอยู่กับแบรนด์ของ NIPT และโปรโมชันของแต่ละสถานพยาบาล โดยจะมีราคาตรวจอยู่ที่ประมาณ 8,000 25,000 บาท

ตรวจ NIPT เบิกประกันสุขภาพได้ไหม?
ในปัจจุบัน การตรวจ NIPT จะยังไม่สามารถเบิกสิทธิประกันสังคม หรือสิทธิข้าราชการได้ ส่วนจะเบิกประกันสุขภาพได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์ โดยในบางกรมธรรม์อาจคุ้มครองครอบคลุมการฝากครรภ์ไปจนถึงคลอดบุตรเท่านั้น แต่ไม่ได้คุ้มครองครอบคลุมการตรวจ NIPT Test

ตรวจ NIPT มีความเสี่ยงกับคุณแม่ตั้งครรภ์หรือไม่?
การตรวจ NIPT เป็นวิธีตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ที่มีความปลอดภัย เพราะเก็บตัวอย่างจากเลือดของมารดาเท่านั้น ไม่มีความเสี่ยงแท้งต่อทารกในครรภ์ สามารถเข้ารับการตรวจอย่างสบายใจได้เลย
 
ตรวจ NIPT ยี่ห้อไหนดี?
สำหรับแบรนด์ตรวจ NIPT ที่แนะนำก็คือ นิฟตี้ (NIFTY) เพราะมีประสบการณ์มายาวนาน มีผู้ตรวจทั่วโลกมากกว่า 12 ล้านราย มาพร้อมกับแพ็กเกจตรวจให้เลือกที่หลากหลาย ได้แก่ NIFTY PRO, NIFTY Core, NIFTY Focus และ NIFTY Twin ซึ่งแต่ละแบบจะมีรายการตรวจที่แตกต่างกัน และทุกแพ็กเกจมีวงเงินสนับสนุนค่าตรวจวินิจฉัยกรณีผลความเสี่ยงสูง และวงเงินชดเชยกรณีผลลบลวง (กรุณาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในเอกสารยินยอมการเอาประกัน)


ตรวจ NIPT ที่ไหนดี?
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์คนไหนที่ต้องการตรวจ NIPT Test สามารถสอบถามและรับบริการตรวจนิฟตี้ (NIFTY) ได้ที่สถานพยาบาลทั่วประเทศได้เลย หรือสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 094-616-6878 หรือ Line OA @niftythailand-bgi  จะมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้คำแนะนำการตรวจ รับรองได้เลยว่าคุณจะได้รับการดูแลที่ดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง
รู้จักกับ Quadruple Test (QT) หนึ่งในวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมยอดนิยม
การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี Quadruple Test (QT) คืออะไร? ตรวจได้ตอนกี่สัปดาห์? มีความแม่นยำเท่าไหร่? ผลเสี่ยงสูงต้องทำยังไงต่อ? หาคำตอบได้ที่นี่เลย
ไขข้อสงสัย ตรวจดาวน์ซินโดรม อายุครรภ์กี่สัปดาห์ วิธีไหนเร็วที่สุด?
ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) คืออะไร?​ ตรวจดาวน์ซินโดรมมีแบบไหนบ้าง? จำเป็นไหม? ตรวจดาวน์ซินโดรม อายุครรภ์กี่สัปดาห์? วิธีไหนเร็วที่สุด? อ่านได้ที่นี่เลย
รายละเอียดการตรวจ NIFTY
ให้ NIFTY ดูแลการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมให้ลูกน้อยของคุณ สามารถทราบความเสี่ยงที่ลูกน้อยในครรภ์จะเป็นดาวน์ซินโดรมหรือความผิดปกติของโครโมโซมอื่น ๆ ไม่ว่าคุณแม่อยู่ในช่วงอายุใดก็สามารถตรวจได้ ไม่มีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ โดยเจาะเลือดเพียงหลอดเดียว
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy